ทดสอบ FLASH DRIVE SANDISK ULTRA USB 3.0

ทดสอบ Flash Drive SANDISK ULTRA USB 3.0

                เนื่องจากน้าได้ซื้อ SANDISK ULTRA USB 3.0 ขนาด 16 GB ราคา 300 บาท (ณ เดือน พ.ย. 57) อีกวันดูราคาในเน็ตเหลือ 290 บาท น้าโชคดีจริงๆ -_-" ใช้แล้วรู้สึกมันเร็วดี เเม้จะใช้กับ port USB 2.0 ก็เลยนำมาทดสอบให้ชมกัน





- ตามภาพก็เคลมความเร็วในการอ่านไว้ที่ 80 MB/s เดี๋ยวมาดูกันว่าจะได้ตามที่บอกไว้หรือไม่


- ทดสอบกับ USB 3.0 ก็ได้ความเร็วในการเขียนสูงสุดที่ 41 MB/s  อ่านสูงสุดได้ 99 MB/s



- ทดสอบกับ USB 2.0 ก็ได้ความเร็วในการเขียนสูงสุดที่ 25 MB/s  อ่านสูงสุดได้ 30 MB/s

สรุปเเล้ว ก็รู้สึกว่าคุ้มดี เร็วดีใช้ได้ครับ  ถึงเเม้เราจะใช้กับ port  USB 2.0 ราคาจะเเพงกว่าอันที่รับรองเเค่ USB 2.0 ที่ความจุเท่ากันประมาณ 60-80 บาท 

การ share printer ใน windows server 2008 เเละ windows 7

การ share printer ใน windows server 2008 เเละ windows 7

             การ share printer คือเราสามารถใช้ printer ได้โดย print ผ่านเครื่องที่ printer เสียบสายกับเครื่องนั้นอยู่ได้เลย ไม่ต้องมานั่งถอดเสียบสายเปลี่ยนเครื่องเพื่อจะ print งาน   เเต่เราก็ต้องเปิดเครื่องที่ printer เสียบสายอยู่ เมื่อเราต้องการใช้งาน printer
             ขั้นตอนการ share printer มี 2 ขั้นตอนหลักๆ คือ 1. ต้องไป share printer ก่อนที่ครื่องที่ printer เสียบสายอยู่ (ขอเรียกว่าเครื่องเเม่) 2. add printer ที่เครื่องที่ต้องการจะ print  (ขอเรียกว่าเครื่องลูก) ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

เริ่มเเรกเลยเราต้องไปเปิดการ share ที่เครืองเเม่ก่อน



- โดยไปที่ Control Panel--Network and Sharing Center--Change advanced sharing setting


 - จากนั้นไปติ๊ก turn on file and printer sharing


- เเล้วก็เลื่อนๆลงมาหน่อย ปิดการใช้ password จะได้ทำง่ายๆ --เสร็จเเล้วก็ save change


- สำหรับ  server 2008 เริ่มเเรกให้ไปที่ control panel--printer เเล้วไปคลิ๊กขวาที่ printer ที่ต้องการ share เเล้วเลือก properties


- ส่วน windows 7 เริ่มเเรกให้ไปที่ control panel--device&printer เเล้วไปคลิ๊กขวาที่ printer ที่ต้องการ share เเล้วเลือก Printer properties


 - ขั้นตอนต่อมาให้ไปที่ส่วน sharing  เเล้วก็ไปติ๊กที่ share this printer ส่วน share name ก็จะขึ้นให้อัตโนมัติซึ่งเราจะเปลี่ยนหรือไม่ก็ได้ เเละ render print jobs......ก็ติ๊กด้วยครับ เสร็จก็ OK ได้เลย ก็เสร็จสิ้นการ share ของเครื่องหลักเเล้ว

***************************************************************************

- ต่อไปก็เป็นการ add printer ที่เครื่องลูก


- ไปที่ช่อง search program and file เเล้วพิมพ์ \\ip address เครืองเเม่ --- กดenter (เหมาะสำหรับ fix ip) เเต่ถ้าไม่ได้ fix ip เเนะนำใช้เป็นชื่อเครื่องดีกว่าเเบบภาพด้านล่าง


- โดยไปที่ช่อง search program and file เเล้วพิมพ์ \\ชื่อเครืองเเม่--- กดenter


- ชื่อเครื่องสามารถดูได้โดยไปคลิ๊กขวาที่ computer เลือก properties


- เเล้วก็ดูที่ computer name


- เสร็จเเล้วก็จะขึ้น printer ที่ถูก  share ไว้เราก็ไป double click  ที่ printer ที่ต้องการเลย ถ้ามันฟ้องให้ลง driver อะไรเพิ่มก็กด OK ไปเลยครับ


- เมื่อ add printer ได้เเล้วก็จะมีเเบบภาพด้านบนขึ้นมา เสร็จเรียบร้อย


- มาที่ printer and  faxes ก็จะมี printer นั้นเเล้วชื่อก็จะมี on.....ต่อท้าย

******************************************************************************
เพิ่มเติม

      การ share printer นั้นจะมีปัญหาอยู่อย่างนึงคือถ้าเครื่องเเม่กับเครื่องลูกใช้ windows หรือ bit ที่ต่างกัน มันจะมีการเรียกหา driver ตอน add printer เพราะว่ามันใช้ driver ไม่เหมือนกัน เราก็สามารถ add printer ที่เครื่องเเม่ไว้ได้เลย เริ่มเเรกเราก็ไปโหลด driver ที่ต้องการมาทิ้งไว้ก่อน เเล้วก็ทำตามนี้


- ไปที่ properties ของ printer--ไปที่ sharing เลือก additional drivers


- ติ๊ก driver ที่จะลงเพิ่มเเล้วกด OK


- เราก็ไป browse ที่ driver ที่ต้องการเเล้วก็ OK รอมันลงเสร็จเเล้วเรียบร้อย

โปรเเกรม Backup ข้อมูลอัตโนมัติ


                แนะนำโปรเเกรม Backup ข้อมูลอัตโนมัติ......ซึ่งมีประโยชน์อย่างมากมาย ที่สำคัญเป็น Freeware เมื่อเรามีข้อมูลสำคัญๆ เราอยาก backup ข้อมูลไว้ตาม internal หรือ external  hard disk อีกตัว  เผื่อ hdd หลักที่เราเก็บข้อมูลไว้มันเสียหรือเราเผลอไปลบข้อมูลนั้น ซึ่งโปรเเกรม auto backup ก็จะช่วยให้เรา backup ข้อมูลได้สะดวกขึ้น โดยการตั้งเวลาให้มัน backup ข้อมูลอัตโนมัติ

ขอเเนะนำสองโปรเเกรมที่น้าเคยใช้มาเเล้ว ดังนี้

            โปรเเกรมเเรก Everyday Auto Backup เป็นโปรเเกรมที่ใช้ง่ายมาก  ทำหน้าตาโปรเเกรมดูง่าย ไม่ซับซ้อน เเต่ก็เสียดายที่โปรเเกรมไม่สนับสนุนกับ Windows Server 2008 กับ 2013 
OS ที่โปรเเกรมใช้ได้ -->Windows 95/98/ME/NT/2000/XP/2003/Windows 7/Windows 8.


- เริ่มเเรก ไปที่ Add ในส่วนของ Project



- project name = ตั้งชื่อตามเข้าใจ
- source directory = Folder ที่ต้องการทำ backup
- destination directory = เก็บไฟล์ที่จะ backup ไว้ที่ folder ไหน
- include sub-directories = จะเก็บ folder ย่อยด้วยหรือไม่ ก็ติ๊กไปเเหละ
- Schedule = ก็ติ๊กเลือกว่าจะให้ backup ทุกๆกี่ชั่วโมง, ทุกวันตอนเวลา... อะไรก็ว่าไปตามต้องการ (อย่างงานน้า ก็ตั้ง schedule ไว้ให้มัน backup ข้อมูลทุกวันตอนตี 1)
- Overwrite option
     - Don't check file time จะcopy ไฟล์มาทับไฟล์เก่าทุกๆไฟล์.....ซึ่งถ้ามีข้อมูลมากก็จะช้า
     - Check file time โปรเเกรมจะตรวจสอบวันเวลาของไฟล์ (date modified) เเล้วมาเทียบกับเวลาล่าสุดที่ทำการ backup ถ้าวันเวลาใหม่กว่าเวลาล่าสุดที่ทำการ backup  ก็จะ copy ไฟล์มาทับเเต่ถ้าไม่ ก็จะไม่ทำอะไรกับไฟล์นั้น
- เสร็จเเล้วกด save


- ตัวอย่างการเลือก source directory ก็ไปคลิ๊กเลือก folder เเล้วก็ OK  ส่วน destination directory ก็เหมือนๆกัน



- ตั้งค่าเสร็จเเล้ว เราก็กด backup now ซักทีนึงมันก็จะ backup ข้อมูลตามที่เราตั้งค่าไว้ ต่อไปมันก็จะ backup ตาม schedule ต่อไป



               อีกโปรเเกรมนึงคือโปรเเกรม FBackup โปรเเกรมนี้เวลา install จะต้องต่อ internet ด้วยเพราะมันต้องโหลดอะไรเพิ่มเติมหน่อยนึง หน้าตาดูดีมีราศีเเต่วิธีใช้ดูงงๆไปหน่อย (หรือว่าน้าโง่เองก็ไม่รู้....น่าจะโง่เองเเหละ) 

OS ที่โปรเเกรมใช้ได้ -->Windows 8, 7, Vista, XP, 2008/2003 Server (32/64-bit)

download ได้ที่  http://www.fbackup.com/



- เริ่มเเรกไปเลือก New backup ด้านซ้ายบน



- จากนั้นตั้งชื่อ Backup Name ตามเข้าใจ
- เเล้วก็ตั้งว่าจะไปเก็บไฟล์ที่จะ backup ไว้ที่ไหน
- เสร็จเเล้วกด Next



- ขั้นตอนนี้ก็มาเลือก file หรือ folder ที่เราต้องการ backup เราก็ add file หรือ folder ไป
- เสร็จเเล้วกด Next



- ขั้นตอนนี้เป็นการเลือกว่าจะ backup file เป็นเเบบไหน
     - Make full จะทำเป็น archive file (Zip หรือ RAR เนี่ยเเหละน้าก็ไม่รู้เหมือนกัน ไม่ได้ใช้อันนี้)
     - Make Mirror ก็เป็นการทำ copy file ธรรมดา (น้าเลือกอันนี้)
- encrytp? ก็เป็นการให้เราเลือกเข้ารหัสไฟล์ หรือเปล่า....ก็ติ๊ก No ไปไม่ต้องไปเข้ารหัสมันหรอก
- เสร็จเเล้วกด Next



- ขั้นตอนสุดท้าย เป็นการตั้งค่าให้ backup เมื่อไหร่ วันละครั้ง สัปดาห์ละครั้ง อะไรก็ว่าไป เสร็จเเล้วกด save เป็นอันเสร็จเรียบร้อย ต่อไปมันก็จะ backup ตาม schedule ที่ตั้งค่าไว้

การ add port ใน firewall windows server 2008


การ add port ใน firewall windows server 2008
                ในบางทีเราทำ web server เเล้วตั้ง port เพิ่มมา( เช่น http:\\192.168.1.1:8888) firewall ของ server เองมันอาจไป block port ที่เราต้องการใช้งานเราต้องไปเพิ่ม port ใน firewall ของ server ได้ดังนี้ 


- ไปที่ control panel-->windows firewall-->allow a program through windows firewall-->add port.. เราก็เพิ่มที่เราต้องการไป เสร็จเรียบร้อย......




- สำหรับในบาง version การเพิ่ม port จากต้องไปเพิ่มใน control panel-->windows firewall-->Advanced setting


- inbound rules-->New Rule..


- ติ๊กที่ Port เเล้วกด next


- ก็ใส่ port ไป เรียบร้อย

การ restart หรือ shutdown เมื่อใช้ Remote Desktop ใน windows XP หรือ 7

       การ restart หรือ shutdown เมื่อใช้ Remote Desktop ใน windows XP หรือ 7


- โดยปกติเเล้วเมื่อเรา remote desktop ไปยัง windows ที่ไม่ใช่ windows server จะไม่มีพวก shutdown button หรือ restart button ให้ใช้ มันจะมีเเค่ log off  กับ disconnect ให้ใช้เท่านั้น เเต่ถ้าเราจำเป็นต้อง restart หรือ shutdown เครื่องให้ทำดังนี้


- เราต้องใช้ command prompt  สามารถเปิดโปรเเกรมโดยพิมพ์ cmd ที่ run หรือจะไปเปิดที่ accessories-->command prompt ก็ได้เหมือนกัน


- สำหรับการ shutdown ให้เราพิมพ์ shutdown /s เเล้ว enter เเล้วรอซักครู่เครื่องก็จะ shutdown
- สำหรับการ restart ให้เราพิมพ์ shutdown /r  เเล้ว enter เเล้วรอซักครู่เครื่องก็จะ restart (จะประมาณครึ่งนาที)


****เพิ่มเติม   สำหรับต้องการ restart ทันทีไม่ต้องรอ ให้เราพิมพ์ shutdown /r /t 0 เเล้ว enter
**** สำหรับ shutdown ก็เหมือนกัน  เพิ่ม /t 0 ต่อท้ายไป



*****เพิ่มเติมอีกที สำหรับ windows XP สามารถเลือก Task Manager--> Shutdown ได้

อีกวิธีนึงคือ กด Alt+F4  ก็จะมี pop up ให้เราเลือกว่าจะ restart, shutdown ........ก็ตามต้องการ


วิธีการเปิดใช้ Hibernate ใน Windows 7

         การใช้ hibernate มีประโยชน์ ทำให้ปิด/เปิดเครื่องได้เร็วขึ้น   วิธีของ hibernate คือการเอาข้อมูลที่อยู่ในเเรมมา save ใน hard disk เป็นไฟล์ก้อนนึง พอเราเปิดเครื่องมาใหม่เครื่องก็จะไปดึงไฟล์นั้นมาใส่ในเเรมเลย ไม่ต้องไปไล่หาไฟล์หลายๆที่ ใน hard disk , ไปที่เดียว ก้อนเดียว จับยัดใส่เเรมเลย ก็เลยทำให้เปิด ปิดเครื่องเร็วขึ้น  




          เเต่ก็จะมีข้อเสีย เรื่องอาจจะมี process หรือ services หรือ ข้อมูละไรก็เเล้วเเต่ที่เราไม่ใช้เเล้ว  มันค้างในเเรม, ไม่ได้ถูกล้างเหมือน shutdown  (เเต่ส่วนนี้ก็เป็นข้อดีด้วยเพราะถ้าเป็นโปรเเกรมที่เราจะใช้อีก โปรเเกรมก็จะเปิดเร็วขึ้น......นิดนึง) เเละเรื่องเสียพื้นที่ hard disk ส่วนนึงไป save ไฟล์ hibernate (ปกติอยู่ใน drive C)


         วิธีการเปิดใช้ Hibernate ปกติใน laptop จะมี Hibernate ให้เลือกใช้อยู่เเล้ว เเต่ใน desktop จะไม่มีให้เลือกใช้ ซึ่งเราก็สามารถเปิดใช้ได้ส่วนนี้ได้ ดังนี้




- ไปที่ control panel--> Power Options



- ไปเลือก change plan setting



- ไปที่ Change advanced power settings



- มองหา sleep จากนั้นก็เลือก  allow hybrid sleep--> setting: เลือกเป็น Off เสร็จเเล้ว OK 



- ก็มี hibernate ให้เลือกใช้เเล้ว



- ส่วนใครอยากเปลี่ยนปุ่ม shutdown button ให้เป็น hibernate เเทน shutdown ก็สามารถไปคลิ๊กที่ว่างบน start เเล้วเลือก properties



- เเล้วก็ไปเปลี่ยน ในส่วน Power button action: ให้เป็น Hibernate เเล้ว OK




- เป็น Hibernate เรียบร้อยเเล้ว